Friday, April 26, 2024
Homeข่าวสาร คริปโตข่าวต่างประเทศองค์การศาสนาอิสลามรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ฟัตวาวินิจฉัยว่า คริปโตนั้น ‘ฮะรอม’ หรือ ‘ต้องห้าม’ ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม

องค์การศาสนาอิสลามรายใหญ่ในอินโดนีเซีย ฟัตวาวินิจฉัยว่า คริปโตนั้น ‘ฮะรอม’ หรือ ‘ต้องห้าม’ ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม

Nahdlatul Ulama (NU) องค์กรทางศาสนาอิสลามที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอินโดนีเซียได้ออกคำฟัตวา หรือคำวินิจฉัยว่า การคริปโตเคอร์เรนซีนั้น “ฮะรอม” หรือ “ต้องห้าม” ภายใต้นิติศาสตร์อิสลาม

คำฟัตวาเป็นความเห็นทางนิติศาสตร์อิสลามไม่มีข้อผูกมัดทางกฎหมาย ซึ่งผ่านการเสวนาที่เรียกว่า bahtsul masail ตัวแทนจากองค์กร Nahdlatul Ulama (PCNU) และโรงเรียนประจำหลายแห่งทั่วชวาตะวันออกเข้าร่วมงาน bahtsul masail.

ความสนใจในคริปโตเคอร์เรนซีเพิ่มขึ้นในอินโดนีเซียในปีที่ผ่านมา เมื่อต้นเดือนที่ผ่าน Coinformant รายงานว่า อินโดนีเซียมีผู้เข้าร่วมในคริปโตเพิ่มขึ้นสูงมาก 1,772% ในช่วงปี 2021

อินโดนีเซียเป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และวงการคริปโตเฟื่องฟูมาก ข้อมูลจาก Indonesian Trade Ministry พบว่า ประเทศนี้มีนักลงทุนคริปโตประมาณ 6.5 ล้านคนภายในเดือนพฤษภาคมปีนี้ แซงหน้านักลงทุนรายย่อย 5.7 ล้านรายที่ลงทะเบียนกับทาง Indonesia Stock Exchange (IDX)

ประกาศที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Nahdlatul Ulama สาขาชวาตะวันออก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม อ้างคำพูดของประธาน Kiai Azizi Chasbullah ว่า

ผู้เข้าร่วมโครงการ bahtsul masail มีความเห็นว่า แม้รัฐบาลจะยอมรับคริปโตเคอร์เรนซีเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ไม่สามารถรับรองความถูกต้องได้ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม

กลุ่มได้ข้อสรุปว่าคริปโตเคอร์เรนซีนั้นถือว่าฮะรอม เนื่องจากมีการเก็งกำไรมากเกินไป ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้เป็นการลงทุนที่ถูกต้องตามกฎหมายได้

“จากการพิจารณาหลายประเด็นด้วยกัน รวมถึงมีการฉ้อโกงมากมาย ถือว่าผิดกฎหมาย” ตัวแทนจากโรงเรียนประจำอิสลาม Lirboyo ประจำเมือง Kediri กล่าว

นักวิชาการมุสลิมบางคนเชื่อว่าคริปโตเคอร์เรนซีนั้นคล้ายกับการพนัจ ซึ่งต้องห้ามภายใต้กฎหมายอิสลาม อย่างไรก็ตาม มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปและองค์กรอิสลามอื่น ๆ ทั่วโลกหลายแหล่งระบุว่ากฎหมายอิลามนั้นอนุญาตให้ใช้คริปโตเคอร์เรนซีได้

เมื่อปีที่ผ่านมา ทางการมาเลเซียที่ดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายอิสลามทางด้านการเงินได้ประกาศว่าจะอนุญาตให้ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้

ขณะนี้มีความพยายามในออสเตรเลียสร้างแพลตฟอร์มการเงินไร้ตัวกลาง (DeFi) ตามกฎชาริอะฮ์อิสลามแห่งแรกของโลก เพื่อพัฒนา DeFi ให้สอดคล้องกับผู้ที่เชื่อถือในอิสลาม

ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงการค้า Muhammad Luthfi บอกกับสื่อท้องถิ่นในอินโดนีเซียว่า ไม่มีแผนตามรอยจีนในการแบนธุรกรรม สั่งห้ามการขุด หรือแบนการซื้อขายคริปโตแต่อย่างใด

ที่มา :   cointelegraph.com

Sponsorspot_img
spot_img
spot_img
spot_img
ติดตาม Siambitcoin

ข่าวล่าสุด